การประกันคุณการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปรับปรุงตามมาตรฐานหลักสูตรฯ พ.ศ. ๒๕๖๕

การวิเคราะห์ความหมายของระบบตามตัวบ่งชี้ของเกณฑ์มาตรฐาน
จากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๖๖ ปรับปรุงตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕
————–

การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุม ตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนว่า สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล (กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑)
การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance : IQA) หมายถึง การประเมินผล และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance : EQA) หมายถึง การประเมินผล และการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การตรวจประเมินคุณภาพภายใน Internal Quality Audit : IQA
การตรวจประเมินคุณภาพภายใน หมายถึง การตรวจสอบว่าการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันมีประสิทธิภาพและได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารจัดการคุณภาพหรือไม่ มีจุดบกพร่องในเรื่องใด เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานต่อไป การตรวจสอบนี้ ต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ มีความจริงใจในการวิพากษ์วิจารณ์ให้คำแนะนำ เพื่อให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันเป็นไปตามข้อกำหนดและทราบข้อมูลจริงในการแก้ไขข้อบกพร่องต่อไป
ระบบตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของ IQA
ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสำพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวทางปฏิบัติและปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกให้มีการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
ระบบ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูป ของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการอื่นๆ องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และขอมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
กลไก หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดการองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน

การตรวจประเ้มินคุณภาพระดับหลักสูตร
มีเกณฑ์การประเมินที่เป็น Rubric score ๒ ประเภท คือ
๑. ตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการ
๒. ตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การรับนิสิต (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑. การกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
๒. กระบวนการรับนิสิต
๓. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา การปรับพื้นฐานความรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เข้ารับการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๔. การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรี
๕. พัฒนาการของผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละช่วงปี
๖. การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา
๗. การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์ (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๘. การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
๙. การบริหารอาจารย์
๑๐. การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑๑. การออกแบบหลักสูตร
๑๒. การกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
๑๓. การกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้เรียนจะบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด
๑๔. การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑๕. ความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบรายวิชากับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด
๑๖. การกำหนดผู้สอน คำนึงถึงความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน เพื่อให้นิสิตสามารถสร้างองค์ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะวิชาการและวิชาชีพได้จริง
๑๗. การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับโลกของการทำงานจริง และตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด
๑๘. การควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและความก้าวหน้าของศาสตร์
๑๙. การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์
๒๐. การช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๓ การประเมินผู้เรียน (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๒๑. การประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต ๑) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนของผู้สอน และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิต (assessment for learning) ๒) การประเมินที่ทำให้นิสิตสามารถประเมินตนเองเป็น และมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาวิธีการเรียนของตนเองใหม่ จนเกิดการเรียนรู้ (assessment as learning) และ ๓) การประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตที่แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (assessment of learning)
๒๒. การทบทวน ตรวจสอบ กำกับการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
๒๓. การรายงานผลการเรียนรู้ที่นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทั้งของอาจารย์และนิสิตเพื่อให้มั่นใจว่านิสิตบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรและรายวิชากำหนด
๒๔. การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๒๕. ระบบการดำเนินงานของวิทยาเขต โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
๒๖. จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
๒๗. กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินพัฒนาการของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด
๒๘. กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ดาวน์โหลด คู่มือและแบบฟอร์มการเขียน SAR ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕

ดาวน์โหลด แบบฟอร์มแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) จากผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖

ดาวนโหลดสูจิบัตร งานประสาทปริญญาบัตร ประจำปี ๒๕๖๓-๒๕๖๖ มจร