ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาเขตสุรินทร์

การวิเคราะห์ความหมายของระบบตามตัวบ่งชี้ของเกณฑ์มาตรฐาน
จากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสกอ. และ ตบช.เพิ่มเติม มจร

****************

ระบบตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของ IQA
ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสำพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวทางปฏิบัติและปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกให้มีการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
ระบบ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูป ของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการอื่นๆ องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และขอมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
กลไก หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดการองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน
ระดับหลักสูตร
มีเกณฑ์การประเมินที่เป็น Rubric score ๒ ประเภท คือ
๑. ตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการ
๒. ตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์

สรุประบบตามตัวบ่งชี้ เกณฑ์มาตรฐานของการตรวจประเมินคุณภาพภายใน
ระดับหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การรับนิสิต (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑. การรับนิสิต
๒. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ การส่งเสริมและพัฒนานิสิต (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๓. การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นิสิตปริญญาตรี
๔. การควบคุมการดูแลให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา
๕. การพัฒนาศักยภาพนิสิตและการเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ การบริหารและพัฒนาอาจารย์ (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๖. การรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
๗. การบริหารอาจารย์
๘. การส่งเสริมพัฒนาอาจารย์
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ สาระของรายวิชาในหลักสูตร (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๙. การออกแบบหลักสูตรและรายวิชาในหลักสูตร ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑๐. การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
๑๑. การพิจารณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑๒. การพิจารณากำหนดผู้สอน การกำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓ และ มคอ.๔) และการจัดการเรียนการสอน
๑๓. การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
๑๔. การกำกับกระบวนการเรียนการสอน
– การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี
– การบูรณาการพันธกิจต่าง ๆ กับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี
๑๕. การช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ และการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๓ การประเมินผู้เรียน (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๑๖. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
๑๗. การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิต
๑๘. การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.๕ มคอ.๖ และ มคอ.๗)
๑๙. การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก)
ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๑ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (P) ระบบที่เกี่ยวกับ
๒๐. การดำเนินงานของหลักสูตร วิทยาเขต โดยมีส่วนของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (ระบบส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้)

ระดับวิทยาเขต
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (P)
๒๑. ระบบการบริหารและพัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์
๒๒. ระบบการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ การบริการวิชาการแก่สังคม (P) พิจารณากำหนดระบบจากเกณฑ์การประเมินข้อ ๑-๖
๒๓. ระบบการบริการวิชาการแก่สังคม
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ระบบการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (P) พิจารณากำหนดระบบจากเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้
๒๔. ระบบการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ การบริหารเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ วิทยาเขตหรือวิทยาลัย (P) พิจารณากำหนดระบบจากเกณฑ์การประเมินข้อ ๗
๒๕. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ ระบบการประกันคุณภาพหลักสูตร (P) พิจารณาจากระบบเกณฑ์การประเมินข้อ ๑-๕
๒๖. ระบบการกำกับการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตร

แบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รายไตรมาส

*******************

คำชี้แจง : วิทยาเขตสุรินทร์ได้ยึดหลักการกระจายอำนาจในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขต โดยใช้กลไกการบริหารคุณภาพ ซึ่งหัวหน้าส่วนงานเป็นผู้มีอำนาจและบทบาทในการบริหารจัดการ โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการควบคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์ของการบรรลุค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยแบ่งช่วงระยะเวลาในการติดตามออกเป็นรายไตรมาส คือ รอบ ๓ เดือน ๖ เดือน ๙ เดือน และ ๑๒ เดือน โดยคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำวิทยาเขตสุรินทร์ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ และผู้บริหารทุกระดับในวิทยาเขตสุรินทร์ จะมีการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในรอบปีการศึกษา และก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ เป็นกลไกสำคัญเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน และก่อให้เกิดการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งกำหนดกรอบแนวทางการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนงานปีการศึกษาละ ๔ ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ รอบ ๓ เดือน ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน – ๓๑ สิงหาคม
ครั้งที่ ๒ รอบ ๖ เดือน ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน – ๓๐ พฤศจิกายน
ครั้งที่ ๓ รอบ ๙ เดือน ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน – ๒๘ กุมภาพันธ์
ครั้งที่ ๔ รอบ ๑๒ เดือน ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน – ๓๑ พฤษภาคม
โดยนำเสนอความก้าวหน้าของผลการดำเนินงาน และการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ในรอบปีการศึกษา ๒๕๖๖

01-แบบติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระยะ 9 เดือน องค์ 1 วิทยาลัยสงฆ์ 2566

02-แบบติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระยะ 9 เดือน องค์2-4 สำนักวิชาการ 2566

03-แบบติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระยะ 9 เดือน องค์ 5 สำนักงานวิทยาเขต 2566

04-แบบติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระยะ 9 เดือน ตบช.5.2-5.4 สำนักวิชาการ 2566

แบบตรวจติดตามและประเมินผล (Checklist)
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขต ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖

1.Cheklist องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ปีการศึกษา 2566

2.Cheklist องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ปีการศึกษา 2566

4.Cheklist องค์ประกอบที่ 3-4 สำนักวิชาการ ปีการศึกษา 2566

5.Cheklist องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ สนง.วิทยาเขต 2566

6.Cheklist องค์ประกอบที่ 5 ตบช.5.2-5.4 ปีการศึกษา 2566